4
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาปรัชญาและพระพุทธศาสนา) |
รายละเอียด :
ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและพระพุทธศาสนา
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Philosophy and Buddhism
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปรัชญาและพระพุทธศาสนา)
ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (ปรัชญาและพระพุทธศาสนา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Philosophy and Buddhism)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Philosophy and Buddhism)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร: แบบ 2.1 ไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษา: หลักสูตรระดับปริญญาเอก หลักสูตร 3 ปี และใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา เป็นการจัดการศึกษาระบบทวิภาค โดยเน้นการวิจัยเชิงคัมภีร์หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมทางปัญญาในการพัฒนาชุมชนและสังคม
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
(1) ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาใดสาขาหนึ่งจากสถาบันการศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง และมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัย/กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกำหนด
(2) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
(3) มีความประพฤติดี ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง หรือถูกไล่ออกจากสถาบัน อุดมศึกษาใดมาก่อน เนื่องจากถูกลงโทษทางวินัย
(4) มีสถานที่และมีภูมิลำเนาที่สามารถติดต่อได้อย่างแน่นอน
(5) สามารถผ่านเกณฑ์การคัดเลือกของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและพระพุทธ ศาสนา โดยที่ผู้สนใจสมัครเข้าเรียนเป็นนักศึกษา จะต้องยื่นใบสมัครเพื่อแสดงความจำนงและมีเอกสารครบถ้วนตามกำหนดและมาสอบคัดเลือกตามวันและเวลาที่กำหนดโดยมีหลักการต่อไปนี้
ก. ผู้สมัครต้องผ่านการคัดเลือก โดยการสัมภาษณ์เพื่อตรวจสอบบุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา อารมณ์ ความรู้สึก และทัศนคติในแง่มุมต่าง ๆ
ข. ผู้สมัครยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ทั้งนี้ การพิจารณา การรับเข้าศึกษาให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
หลักสูตร หลักสูตร แบบ 2.1
(1) จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
(2) โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและพระพุทธศาสนา เน้นการวิจัยเพื่อพัฒนานักวิชาการทางสาขาวิชาปรัชญาและพระพุทธศาสนาและนักวิชาชีพที่นำเอาวิชาทางปรัชญาและพระพุทธศาสนาประยุกต์ใช้ในสาขาอาชีพของตน ให้เกิดนวัตกรรมทางปัญญาในการพัฒนาชุมชนและสังคม ฉะนั้น ในแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยนั้น ต้องมีการทำดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณภาพสูงและก่อให้เกิดการวิจัยแบบความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม ดังนี้
1) กรณีที่ 1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทที่มีพื้นฐานความรู้ทางปรัชญาและ/ หรือพระพุทธศาสนา เน้นการวิจัย 36 หน่วยกิต (PHB 9001) ศึกษารายวิชาเอกบังคับ 9 หน่วยกิต (PHB 8101-8103) และรายวิชาเอกเลือก 9 หน่วยกิต (PHB 8201-8207) และเรียนเสริมพื้นฐานรายวิชาภาษาอังกฤษ PHB 8000 จึงสามารถสอบการวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ด้วยการจัดทำรายงานจำนวน 2 เล่ม และนำเสนอปากเปล่า จากนั้นจึงทำดุษฎีนิพนธ์ โดยผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับ ให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อ.ว.) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
2) กรณีที่ 2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโทที่ไม่มีพื้นฐานความรู้ทางปรัชญาและ/ หรือพระพุทธศาสนา ต้องทำวิจัยและศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้
ก) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (PHB 6001 – 6003) และ (PHB 8000) 4 รายวิชา 12 หน่วยกิต ศึกษาโดยไม่นับหน่วยกิต
ข) หมวดวิชาเอกบังคับ (PHB 8101 – 8103) 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต
ค) หมวดวิชาเอกเลือก (PHB 8201 – 8207) 3 รายวิชา 9 หน่วยกิต
ง) ดุษฎีนิพนธ์ (PHB 9001) 36 หน่วยกิต
รวม 54 หน่วยกิต
จึงสามารถสอบการวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination) ด้วยการจัดทำรายงานจำนวน 2 เล่ม และนำเสนอปากเปล่า จากนั้นจึงทำดุษฎีนิพนธ์ โดยผลงานดุษฎีนิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับ ให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อ.ว.) เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
เอกสารสำหรับการสมัคร
1. สำเนาใบ Transcript ระดับปริญญาโท 2 ชุด
2. สำเนาใบ Transcript ระดับปริญญาตรี 2 ชุด
3. สำเนาใบปริญญาบัตร 2 ชุด
4. สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ชุด
5. สำเนาบัตรประชาชน 2 ชุด
6. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) 2 ชุด
7. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
8. แบบแสดงความสนใจในการทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation)
*** ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 349,950 บาท ***
สมัครออนไลน์
https://docs.google.com/forms/d/1ljSkskXmm9fsJggD93jnJ7pfq1HWDFl-cQTkiesmN8k/edit?usp=sharing
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ดร.สวัสดิ์ อโณทัย 087-591-9589 หรือ Scan QR Code
อ.วนิดา แฉล้มเขตต์ 081-750-8092 หรือ Scan QR Code
รายละเอียดการประกอบอาชีพหลังเรียนจบ :
รายละเอียดการประกอบอาชีพหลังเรียนจบ :
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร : ประมาณ 349,950 บาท บาท